เกี่ยวกับกองอาคาร
· คณะผู้บริหาร
· ผังโครงสร้างของหน่วยงาน
· ปรัชญา/ปณิธาน
· ประวัติความเป็นมา
· หน้าที่/ความรับผิดชอบ
· สถานที่ตั้ง
· ติดต่อเรา
· 7ส. กองอาคารสถานที่
· มาตราฐาน 7ส.
หน่วยงานของเรา
· งานธุรการ
· แผนกยานพาหนะ
· แผนกบริการ
· แผนกผังแม่บทและซ่อมบำรุง
การจัดการความรู้ (KM)
· ปีการศึกษา 2556
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
ขณะนี้มี บุคคลทั่วไป และ สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
ข่าวและกิจกรรม
· ทุกประเภท
· KM 2557
· KM 2559
· KM 2560
· KM_2556
· KM_2558
· การจัดการพลังงาน
· การจัดสถานที่
· กิจกรรม
· ข่าวประชาสัมพันธ์
· งานสัมมนา
จำนวนผู้เยี่ยมชม
มีผู้เข้าเยี่ยมชม
46057361
คน ตั้งแต่ May 2010
KM 2559: การให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหา หากเกิดอุบัติเหตุบนถนน โดย คุณอายุธ นุชเทียน
การจัดการความรู้
การให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหา หากเกิดอุบัติเหตุบนถนน โดย คุณอายุธ นุชเทียน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมกองอาคารสถานที่

คุณอายุธ ได้ถ่ายทอดเรื่อง การเพิ่มสมรรถนะทักษะให้แก่พนักงานขับรถยนต์ เพื่อสร้างเสริมบุคคลากรให้มีความรู้ ความเชื่อมั่นในการขับขี่ยานพาหนะ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ลดความสูญเสียด้านงบประมาณในการซ่อมบำรุงยานพาหนะ


มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. กฎหมายกับการประกันภัย

1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะ และการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีดังนี้

- พ.ร.บ.จราจรทางบก : เป็นกฎหมายว่าด้วยการใช้รถใช้ถนนเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการเกิดเหตุ หรือความเสียหายที่อาจะมีขึ้น

- พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ : เป็นกฏหมายว่าด้วยการให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัยอันเกิดจากการใช้รถเพื่อบรรเทาผลร้าย หรือ ค่าเสียหายต่อชีวิต-ร่างกาย

1.2 ประเภทของการประกันภัยรถยนต์ แบ่งเป็น

- ภาคบังคับ : กฎหมายบังคับให้ต้องทำ พ.ร.บ. โดยคุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยกำหนดวงเงินชัดเจน

- ภาคสมัครใจ :  เจ้าของรถสมัครใจทำประกันภัย โดยคุ้มครองทรัพย์สิน การบาดเจ็บ และการเสียชีวิต โดยวงเงินขึ้นกับความพอใจของทั้งสองฝ่าย

2. ความรู้เรื่องกฎจราจร เครื่องหมายจราจร และอุบัติเหตุบนท้องถนน

2.1 กฎจราจรที่เกี่ยวกับผู้ขับรถ เป็นกฎที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถ เพื่อความปลอดภัยในท้องถนน เช่น  ห้ามมิให้ขับรถขณะเมาสุรา ห้ามขับรถด้วยความประมาท ห้ามขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต เป็นต้น

2.2 เครื่องหมายจราจร อันประกอบด้วย แผ่นป้ายชนิดต่าง ๆ ได้แก่
- ป้ายบังคับ คือ ป้ายห้ามหรือจำกัดให้ผู้ขับรถปฏิบัติตาม เช่น ป้ายจำกัดความเร็ว เป็นต้น

- ป้ายเตือน คือ ป้ายให้ผู้ขับรถระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ป้ายทางข้ามรถไฟ เป็นต้น

-ป้ายแนะนำ คือ ป้ายช่วยแนะนำให้ผู้ขับรถไปสู่จุดหมายปลายทางได้สะดวก รวดเร็ว เช่น ป้ายทางออก เป็นต้น

กฎหมาย การประกันภัย กฎจราจร และอุบัติเหตุบนท้องถนน มีความสัมพันธ์กัน โดยหลักการว่า การใช้รถ-ใช้ถนน ต้องเป็นไปตามกฎจราจร ดังนั้นผู้ใดฝ่าฝืนย่อมถือว่าเป็นความผิดและเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้จากผลสรุปตามพระราชบัญญัติจราจรกล่าวว่า ฝ่ายใดผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันไว้เป็นผู้รับผิดชอบแทนตามวงเงินที่กำหนดไว้ (ความรับผิดในทางแพ่ง) ดังนั้นผู้ขับขี่ยานพาหนะควรศึกษากฎจราจร และการประกันภัย เพื่อสามารถใช้รถ-ใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย และสามารถทราบสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยได้อย่างคุ้มค่า 
3. การให้ความรู้การแก้ไขปัญหาหากเกิดอุบัติเหตุบนถนน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หากประมาท ผู้ขับขี่ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับ

1. เรื่องรถ

2. เรื่องเส้นทาง

3. เรื่องวิธีการขับขี่รถ

4. เรื่องกฎจราจร

5. เรื่องมารยาทในการขับรถ

การป้องกันอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ 

เบรกแตก อย่าตกใจ  วิธีแก้ใช้เกียร์ต่ำในทันที หากจวนตัวมากอาจเปลี่ยนจากเกียร์ 4 มาเป็นเกียร์ 2 เลยก็ได้ ดึงเบรกมือช่วย พร้อมกับประคองพวงมาลัยรถให้อยู่ในบังคับเพื่อหลบหลีกรถอื่นๆ  

ยางแตกหรือระเบิด  ต้องรีบเบารถทันที โดยเปลี่ยนเกียร์ลดลงเรื่อยๆ เพื่อให้เครื่องชะลอรถให้ช้าลง ในขณะที่รถยังมีความเร็วสูงอยู่อย่าเหยียบเบรก ต่อเมื่อรถช้าลงมากแล้วค่อยเหยียบเบรกโดยแตะเบาๆ แล้วแอบเข้าข้างทางเพื่อทำการเปลี่ยนยางใหม่    

ขับรถขณะฝนตกหรือถนนลื่น ควรชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงกว่าปกติ และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น (จากปกติ 50 เมตร) เมื่อจะหยุดรถให้เปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยชะลอรถอย่าเบรกโดยกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลันเพราะอาจทำให้รถปัด หรือหมุนได้

การขับรถขึ้น-ลงเขา หรือเนินสูง ต้องใช้เกียร์ต่ำแต่เครื่องยนต์จะทำงานหนัก ถ้าเครื่องดับและรถหยุดไหลจากเขา ต้องเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือช่วย ถ้าเป็นรถหนัก หรือ รถบัสต้องใช้ไม้หนาๆ หนุนล้อทั้ง 4 ล้อไว้เพื่อป้องกันรถไหล

การขับรถลงเขา, ลงเนินสูง และลงสะพานสูงๆ   ความเร็วของรถจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าปกติ อาจเกิดอันตรายได้ง่าย ฉะนั้นการขับรถลงจากเขาหรือเนินสูงๆ หรือลงสะพานสูงๆ ต้องลดเกียร์มาใช้เกียร์ต่ำ หากเครื่องยนต์ดับ ให้เหยียบเบรกให้รถหยุด และดึงเบรกมือหรือใช้ไม้ รองล้อทั้ง 4 ล้อไว้เพื่อป้องกันรถไหล

ห้ามแซงในขณะที่กำลังรถ ขึ้น-ลงเขา หรือที่สูง เพราะจะมองไม่เห็นรถที่สวนมา

รถเสีย   ให้นำรถจอดแอบข้างทาง หรือเข็นไปจอดในที่ที่มีแสงสว่างให้รถผ่านไปมาเห็นได้ชัด และจะต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟเหลืองกระพริบเตือนให้รถอื่นเห็น
ติดประกาศ Saturday 22 Jul 17@ 19:00:09 ICT โดย admin
 
เข้าสู่ระบบ
ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม การจัดการความรู้
· เสนอข่าวโดย admin


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด การจัดการความรู้:
การเป็นวิทยากรด้านการจัดการพลังงาน

คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 0
จำนวนผู้ลงคะแนน: 0

โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่

ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์

หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความรู้

เสียใจบทความนี้ไม่มีข้อเสนอแนะ
กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
18/18 ถนนบางนา - ตราด ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540