การทำปุ๋ยหมัก
วัน Tuesday 01 Jul 14@ 19:17:36 ICT
หัวข้อ: การจัดการความรู้


การให้ความรู้ จากประสบการและการค้นคว้าเพิ่มเติม โดย นายเกษม ปินใจคำ

เรื่องที่ 1  การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์-ชีวภาพ Dmx จากเศษพืช และขยะสด
เรื่องที่ 2  วิธีทำปุ๋ยหมักด้วยเปลือกผลไม้


เรื่องที่ 1  การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์-ชีวภาพ Dmx จากเศษพืช และขยะสด 
(สูตรเร่งด่วน-แนวใหม่  หมักวันเดียว ใช้ได้) 
ส่วนผสม 
• เศษพืชทุกชนิด(ใบไม้/กิ่งไม้/เศษหญ้า/ฟาง) 5 ส่วน(ถุงปุ๋ย) 
• ขยะสดทุกชนิด(เศษอาหาร/เศษผัก/เปลือกผลไม้)  5 ส่วน 
(เศษพืชและขยะสด ควรตัด/สับ/ย่อยให้ได้ขนาด Æ 0.5 – 1 ซ.ม.) 
• มูลสัตว์ หรือ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ 2 ส่วน 
• แกลบเผา (แกลบดำ) 1 ส่วน 
• รำละเอียด 0.5 – 1 ส่วน 
• ปุ๋ยแร่ธรรมชาติ (แคลเซียม/ฟอสฟอรัส/ซีโอไลท์) 5 – 10 ก.ก. 
• น้ำจุลินทรีย์ชีวภาพDmx + กากน้ำตาล + น้ำ ผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 100 และหมักไว้(ล่วงหน้า) 1 – 2 วัน 
วิธีทำ 
- ผสมวัสดุทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน รดหรือฉีดพ่นด้วยน้ำ จุลินทรีย์ชีวภาพ จนชุ่ม ให้ได้ความชื้นประมาณ 40% แล้วกองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นดินที่ปูด้วยผ้าเต็นท์ (ควรทำในที่ร่มหรือโรงปุ๋ย) คลุมกองปุ๋ยด้วยกระสอบปุ๋ย หรือกระสอบป่าน ใช้เวลาหมัก 1 - 2 วัน จึงนำไปใช้ได้ 
วิธีใช้ 
• นำปุ๋ยหมักไปใช้กับพืชทุกชนิด ในปริมาณ 200 - 300 ก.ก. ต่อไร่ หรือตามความเหมาะสม 
• นำปุ๋ยหมักคลุมแปลงปลูกพืชผัก พืชไร่ ทุกชนิด เพื่อเป็นอาหารต่อเนื่องให้แก่พืช ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในแปลง และป้องกันวัชพืชขึ้นในแปลงผักได้เป็นอย่างดี หรือใช้ผสมดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกไม้ผลหรือไม้ดอกไม้ประดับ

เรื่องที่ 2  วิธีทำปุ๋ยหมักด้วยเปลือกผลไม้

ส่วนผสม 
1. เศษพืชสด ควรเป็นพืชอวบน้ำ สามารถใช้ได้ทั้งต้นอ่อนและต้นแก่ เช่น ผักบุ้ง ต้นกล้วย หรือเปลือกผลไม้ เช่น เปลือกแตงโม มะม่วง หรือมะละกอ ที่สำคัญพืชที่นำมาใช้ต้องสด ไม่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง 
2. น้ำตาล ใช้ได้ทุกชนิด แต่ถ้าต้องการประหยัด ควรใช้กากน้ำตาลหรือโมลาส 
วิธีทำ 
1. ถ้าเป็นผักสด ควรเลือกเก็บตอนเช้ามืด ไม่ต้องล้าง นำมาใช้ได้เลย ถ้าเป็นเปลือกผลไม้หรือผลไม้ ควรเลือกที่ไม่เป็นโรค สด ไม่เน่า 
2. นำพืชผักที่ได้มาหั่นเป็นชิ้นๆ 
3. เตรียมเศษผัก 3 ส่วนและน้ำตาล 1 ส่วน แต่ก่อนผสม ให้แบ่งน้ำตาลเป็น 5 ส่วน แต่ใช้ 4 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากับเศษผักทำแต่เบามือ 
4. นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงถังหมัก กดให้แน่นจนหมด โรยปิดหน้าด้วยน้ำตาลส่วนที่เหลือให้ทั่วถึง จากนั้น นำถุงพลาสติกใส่น้ำทับส่วนผสม เพื่อให้ผักแน่นขึ้น ปิดปากถังหมักให้สนิทด้วยกระดาษที่สะอาด รัดด้วยเชือกหรือยางรัดของ ทิ้งไว้ 1 คืนจึงเปิดฝา นำถุงน้ำออก 
5. ส่วนผสมควรเหลือ 2/3 ของภาชนะหมัก (พื้นที่ที่เหลือเพื่อให้จุลินทรีย์หายใจ และเจริญเติบโต) หลังจากนั้น ปิดปากถังหมักด้วยกระดาษรัดให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดดและน้ำฝน ทิ้งไว้ประมาณ 10-14 วัน เพื่อให้การหมักสมบูรณ์ ไม่เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
6. เปิดปากภาชนะ สังเกตกลิ่นและสี ควรจะมีกลิ่นหอมหวาน ไม่เหม็นเปรี้ยวหรือมีกลิ่นแอลกอฮอล์ สีควรเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเข้ม ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้น้ำตาลในการหมัก 
7. แบ่งบรรจุใส่ขวด ควรจะเป็นขวดแก้วทึบแสง สะอาดและแห้ง ขนาดบรรจุกะประมาณ 2/3 ของขวด ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่มและเย็น อายุการเก็บรักษาประมาณ 6-8 เดือน 
ข้อแนะนำ 
ถ้าเกิดกลิ่นเปรี้ยวหรือกลิ่นแอลกอฮอล์ ควรเติมน้ำตาลเพิ่มในปริมาณ 1/3 ของปริมาณน้ำสกัดชีวภาพ 
วิธีนำไปใช้ 
• ผสมน้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วนต่อน้ำ 500 ส่วน (1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นต้นไม้ และพืชผักอย่างสม่ำเสมอ 
• การฉีดพ่นควรทำหลังฝนตก และควรใช้ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รวมถึงควรมีวัสดุคลุมดิน เพื่อให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตในดินได้เร็วขึ้น 
• สามารถใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชได้ตั้งแต่เริ่มงอก เพื่อป้องกันโรคและแมลง 
• สามารถนำน้ำสกัดชีวภาพไปฉีดพ่นเมล็ดพืชก่อนนำมาเพาะปลูก เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่พืช







บทความนี้มาจาก กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
http://building.hcu.ac.th

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://building.hcu.ac.th/modules.php?name=News&file=article&sid=19